วันอังคารที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการวางแผนทำงานบ้าน





ขั้นตอนการวางแผนทำงานบ้าน
                ก่อนทำงานบ้านควรวางแผนเป็นลำดับขั้นจะช่วยให้ทำงานได้สะดวก รวดเร็ว เรียบร้อยและมีคุณภาพ  ซึ่งมีขั้นตอนในการวางแผนทำงานบ้าน  ดังนี้

1)       รวบรวมงาน  แจกแจงรายละเอียดและกำหนดระยะเวลาการทำงาน
ประเภทของงานบ้าน
งานประจำวัน
งานประจำสัปดาห์
งานประจำเดือน
งานทำอาหาร
         เตรียมและประกอบอาหาร
         จัดโต๊ะอาหาร
      ล้างภาชนะเครื่องใช้ในการรับประทานอาหาร
         ทำความสะอาดตู้กับข้าว
         ทำความสะอาดตู้เย็น

งานซักรีด
ซ่อมแซม
ดัดแปลงเสื้อผ้า
         ซักผ้า
         เก็บพับเสื้อผ้า 
         รีดผ้า
         จัดตู้เสื้อผ้า
         ซักผ้าปูที่นอน
         ซักปลอกหมอน
         ซักผ้าห่ม
งานทำความ
สะอาดเครื่องเรือน
เครื่องใช้ในบ้าน
         ทำความสะอาดโต๊ะอาหาร
         ทำความสะอาดเตาแก๊ส
         ทำความสะอาดพัดลม
      ทำความสะอาดเครื่องใช้อื่น ๆ เช่น เครื่องกรองน้ำตู้หนังสือ
         ทำความสะอาด
      มุ้งลวด
จัดตกแต่งบ้าน
และดูแลบริเวณ
บ้าน
         เก็บที่นอน
      ปัดกวาด เช็ดถูพื้นห้องทุกห้อง
         รดน้ำต้นไม้
         ทำความสะอาดห้องน้ำ
         ทำความสะอาดห้องต่าง ๆ ภายในบ้าน
         ปัดกวาดหยากไย่
         ตัด ตกแต่งกิ่งไม้
         ตัดหญ้า
งานเลี้ยงดูเด็กและคนชรา
         จัดให้รับประทานอาหาร
         ดูแลความสะอาดร่างกาย
                   ดูแลตู้เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
                   พูดคุยให้เกิดความบันเทิง
         สระผม
         ตัดเล็บ
         พาไปพักผ่อน
      นอกสถานที่

งานดูแลสัตว์เลี้ยง
–    ให้อาหาร 
–    ทำความสะอาดร่างกาย
–    ตรวจโรค 

2)     เขียนแผนการทำงาน  เป็นการนำข้อมูลที่รวบรวมมาเขียนเป็นแผนการปฏิบัติงาน  ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 แบบ  คือ แผนการปฏิบัติงานประจำวัน  แผนการปฏิบัติงานประจำสัปดาห์ และแผนการปฏิบัติงานประจำเดือน การเขียนแผนการปฏิบัติงานต้องกำหนดหัวข้อที่สำคัญ  ดังนี้
(1)     งานที่ปฏิบัติ  ระบุงานและขอบข่ายงานที่ทำให้ชัดเจน
(2)     จุดประสงค์ในการทำงานเพื่ออะไร  เช่น  เพื่อความสะดวก  เพื่อความสวยงาม  เป็นต้น
(3)     วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้  จัดเตรียมสำหรับปฏิบัติงานในแต่ละครั้งให้พร้อม
(4)     กำหนดเวลา ต้องกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานให้ชัดเจน  เช่น  เมื่อใด  เวลาใด  ระยะเวลาเท่าไร
(5)     กำหนดขั้นตอนในการทำงาน  ให้ระบุการทำงานให้ชัดเจนว่างานใดทำก่อน  ทำหลังให้เป็นขั้นตอน
(6)     กำหนดผู้รับผิดชอบ ให้ระบุผู้รับผิดชอบให้เหมาะสมกับงานแต่ละงานให้ชัดเจน
(7)     กำหนดค่าใช้จ่าย กำหนดรายการวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องซื้อและประมาณค่าใช้จ่าย




วันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของงานบ้าน


1.       ความหมายของงานบ้าน
งานบ้าน  หมายถึง  กิจกรรมต่าง ๆ  ที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตประจำวันในการสร้างความสุขของสมาชิกทุกคนในบ้าน  ซึ่งต้องปฏิบัติเป็นประจำ  โดยอาศัยความร่วมมือ  ร่วมแรง  ร่วมใจของสมาชิก   ทุกคนในบ้าน
















2.       ขั้นตอนและประโยชน์ของการวางแผนทำงานบ้าน
การวางแผนทำงานบ้าน คือ  การกำหนดแนวปฏิบัติงานไว้ล่วงหน้า  ว่าจะทำอย่างไร  ทำเมื่อไร  ทำโดยวิธีใด  ใครเป็นผู้ทำและกำหนดงานเสร็จเมื่อไร




วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

งานบ้าน

เรียนรู้งานบ้าน
     การเรียนรู้งานบ้าน  แล้วช่วยกันทำงานบ้าน  จะเป็นการแบ่งเบาภาระของพ่อแม่  และช่วยทำให้บ้านของเราน่าอยู่ยิ่งขึ้น
     1.  การทำความสะอาดเครื่องเรือน
          เครื่องเรือนเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ในบ้าน  เครื่องเรือนมีหลายชนิด  เช่น  เก้าอี้นวมรับแขก  หรือโซฟา  ตู้ใส่ของ  ชั้นวางของ  โต๊ะและเก้าอี้
          เราควรทำความสะอาดเครื่องเรือนอยู่เสมอ  เพื่อให้เครื่องเรือนสะอาดน่าใช้  และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น  ดังนี้
          1)  ใช้ไม้กวาดขนไก่ปัดฝุ่นตามตู้  โต๊ะ  เก้าอี้  และชั้นวางของ
          2)  ใช้ไม้กวาดดอกหญ้ากวาดพื้นบ้านให้สะอาด
          3)  ใช้ผ้าชุบน้ำบิดหมาด ๆ  เช็ดถูตามเครื่องเรือนให้ทั่ว  ถ้าเครื่องเรือนเป็นประเภทไม้ขัดเงา  ควรใช้ผ้าแห้งเช็ดและขัดถูให้ขึ้นเงา  สำหรับการเช็ดชั้นวางของควรนำสิ่งของในชั้นออกก่อน  เมื่อเช็ดเสร็จแล้วจึงนำสิ่งของเข้ามาเก็บตามเดิม
     2.  การล้างแก้ว          1)  เก็บแก้วน้ำที่ใช้แล้วมารวมกัน  เทน้ำในแก้วออก  ผสมน้ำยาล้างจานผสมน้ำถูภายในและภายนอกแก้วและขอบแก้วให้สะอาด
          2)  นำแก้วมาล้างน้ำสะอาดจนหมดกลิ่น  และคราบน้ำยาล้างจาน
          3)  คว่ำแก้วที่ล้างเสร็จแล้วบนถาดเพื่อผึ่งให้แห้ง  หรืออาจใช้ผ้าสะอาดเช็ดจนแห้ง  จากนั้นเก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย
     3.  การล้างจานชาม          1)  เก็บรวบรวมจานชามที่ใช้แล้วมารวมกัน  กวาดเศษอาหารลงในถังขยะ  จากนั้นนำจานชามไปล้างน้ำเปล่า 1 ครั้ง  เพื่อล้างเศษอาหารและคราบไขมันออกก่อน
          2)  ผสมน้ำยาล้างจานกับน้ำน้ำในกะละมังพอสมควร  แล้วใช้ฟองน้ำชุบน้ำยาล้างจานผสมน้ำถูจานชามให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลังให้สะอาด
          3)  นำจานชามมาล้างน้ำสะอาดจนไม่มีคราบมันติดอยู่
          4)  นำจานชามที่ล้างแล้วไปวางเรียงหรือคว่ำบนตะแกรงเพื่อผึ่งให้แห้ง  แล้วนำไปเก็บในตู้ให้เรียบร้อย
เกร็ดน่ารู้คู่บ้าน
     การล้างเศษอาหารและคราบไขมันออกจาภาชนะ  ควรใช้น้ำอุ่นล้าง  เพราะจะทำให้คราบไขมันหลุดออกและสลายไปได้ดีดกว่าใช้น้ำเย็นล้าง

     4.  การกรอกน้ำใส่ภาชนะ          1)  วางขวดหรือภาชนะที่ใส่น้ำในกะละมัง  แล้วเสียบกรวยลงในขวด
          2)  เทน้ำผ่านกรวยลงในขวด  หรือภาชนะจนเกือบเต็ม
          3)  ปิดฝาขวดภาชนะให้แน่น  แล้วนำไปใส่ในตู้เย็น  หรือตั้งเรียงไว้ให้เป็นระเบียบ
               ภาชนะใส่น้ำ  เมื่อใช้ไปนาน ๆ จะเกิดตะไคร่น้ำหรือคราบสกปรกเกาะ  จึงต้องทำความสะอาดอยู่เสมอ  โดยการใช้แปรงล้างขวดจุ่มน้ำยาล้างจานที่ผสมกับน้ำแล้วถูภายในให้ทั่ว  หรือใส่ทรายลงในขวด  ปิดฝาขวดแล้วเขย่า  จากนั้นล้างด้วยน้ำเปล่าจนสะอาด  วางผึ่งให้แห้ง
          นอกจากนี้  เรายังสามารถช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านอื่น ๆ ได้อีก  เช่น  ช่วยดูแลน้องขณะที่พ่อแม่ไม่ว่าง  โดยที่เราจะต้องไม่รังแกน้อง  และดูแลไม่ให้น้องไปในที่ที่อันตราย  เช่น  เล่นใกล้เตาไฟ  หรือปีนป่ายที่สูง  เป็นต้น  และเรายังสามารถช่วยซื้อของให้พ่อแม่ได้  โดยจดรายการของที่จะซื้อแล้วซื้อของให้ครบตามรายการ  จากนั้นตรวจนับเงินทอนให้เรียบร้อย